เกษตรกรผู้ปลูกหอมหัวใหญ่ หอมแดง หอมแบ่ง และกระเทียม ระวังการระบาดของโรคใบจุดสีม่วง ที่เกิดจากเชื้อรา ?????????? ?????.อาการเริ่มแรก พบจุดฉ่ำน้ำขนาดเล็ก รูปร่างกลมหรือรีบนใบ เมื่อแผลแห้งจะเปลี่ยนเป็นจุดแผลสีขาว และแผลจะขยายออกตามความยาวของใบ มีลักษณะเป็นรูปไข่ เนื้อเยื่อยุบตัว แผลสีม่วงเข้มหรือสีน้ำตาลอมม่วง ตรงกลางซีดจางกว่าเล็กน้อย มีแถบสีขาว หรือสีเหลืองส้มล้อมรอบแผล.ถ้าอากาศชื้นจะพบผงสปอร์สีดำของเชื้อราบนแผล เมื่อมีหลายแผลขยายต่อกันจะทำให้ใบแห้ง ต้นโทรม ผลผลิตลดลง.หากโรคระบาดรุนแรงใบจะแห้งตายหมด ไม่ได้ผลผลิต หากเชื้อราเข้าทำลายที่ส่วนหัว จะทำให้หัวเน่าเก็บไว้ได้ไม่นาน.วิธีป้องกันกำจัด.(1) ก่อนปลูกควรปรับปรุงดินให้มีสภาพเหมาะสม โดยการใส่ปูนขาว ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยอินทรีย์.(2) ใช้หัวพันธุ์ที่ปราศจากโรค โดยแช่หัวพันธุ์ หรือต้นกล้าก่อนปลูกด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น —ไดฟีโนโคนาโซล 25% EC อัตรา 30 – 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ —ไอโพรไดโอน 50% WP อัตรา 30 – 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร นาน 15 – 20 นาที.(3) ตรวจแปลงปลูกสม่ำเสมอ เมื่อพบโรคพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น —ไดฟีโนโคนาโซล 25% EC อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ —ไอโพรไดโอน 50% WP อัตรา 20 – 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ—โพรคลอราซ 50% WP อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร .หากโรคยังคงระบาดควรพ่นซ้ำ ทุก 5 – 7 วัน แต่ไม่ควรเกิน 4 ครั้ง แล้วสลับพ่นด้วย—แมนโคเซบ 80% WP อัตรา 40 – 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร.เพื่อป้องกันการดื้อยาของเชื้อสาเหตุโรค.(4) เก็บซากพืชที่เป็นโรคนำไปทำลายนอกแปลงปลูก เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของเชื้อสาเหตุโรค(5) ในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค ควรปลูกพืชชนิดอื่นที่ไม่ใช่สกุลหอมกระเทียมสลับ.#หอมหัวใหญ่#หอมแดง#หอมแบ่ง#กระเทียม#โรคใบจุดสีม่วง#เชื้อรา#โรคพืช#เตือนภัยเกษตร#กรมวิชาการเกษตร.ภาพ- Howard F. Schwartz: Colorado State University
ที่มา : ก้าวไกลกับกรมวิชาการเกษตร